เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
2. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
3. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
4. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย
ชื่อว่ามีสติด้วยเหตุอีก 4 อย่าง ... สัตว์เกิดนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ1
รวมความว่า เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงมีสติทุกเมื่อ
คำว่า ละกามทั้งหลายได้ อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม
(2) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม
คำว่า ละกามทั้งหลายได้ อธิบายว่า พึงละกามได้โดยเหตุ 2 อย่าง คือ
(1) โดยการข่มไว้ (2) โดยการตัดขาด
บุคคลพึงละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก
เพราะให้ความยินดีเล็กน้อย จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เพราะเป็นของทั่วไป
แก่คนส่วนมาก จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เพราะไหม้
ลุกลาม จึงละกามได้โดยการข่มไว้ ... บุคคลกำลังเจริญเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ จึงละกามได้โดยการข่มไว้ บุคคลชื่อว่าพึงละกามได้โดยการข่มไว้
เป็นอย่างนี้2... บุคคลชื่อว่าพึงละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างนี้ รวมความว่า
ละกามทั้งหลายได้

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 3/12-13
2 ดูรายละเอียดข้อ 3/7-9

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :24 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า ครั้นละกามเหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้
อธิบายว่า สัตว์เกิดกำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม ละ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความ
ไม่มีอีกซึ่งกามฉันทนิวรณ์ ละ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก
ซึ่งพยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์
พึงข้าม ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยกาโมฆะ(ห้วงน้ำคือกาม) ภโวฆะ(ห้วงน้ำ
คือภพ) ทิฏโฐฆะ(ห้วงน้ำคือทิฏฐิ) อวิชโชฆะ(ห้วงน้ำคืออวิชชา)ได้ รวมความว่า
ครั้นละกามเหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้
คำว่า เหมือนคนวิดน้ำเรือแล้วไปถึงฝั่งได้ ฉะนั้น อธิบายว่า เปรียบเหมือน
บุคคลวิด ตัก ทิ้งน้ำในเรือที่ทำให้เรือบรรทุกหนัก แล้วพึงไปถึงฝั่งได้รวดเร็วด้วยเรือ
ที่เบา โดยไม่ยากนัก ฉันใด สัตว์เกิดกำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ ละเว้น บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม ละ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกามฉันทนิวรณ์ ... พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ...
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์ ก็จะพึงไปถึงฝั่งได้รวดเร็ว โดยไม่ยากนัก
ฉันนั้นเหมือนกัน อมตนิพพาน ตรัสเรียกว่า ฝั่ง คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส
เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า พึงไปถึงฝั่ง ได้แก่ พึงถึงฝั่ง พึงถูกต้องฝั่ง พึงทำให้แจ้งฝั่งได้
คำว่า ถึงฝั่งได้ อธิบายว่า ผู้ใดประสงค์จะไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นก็ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่งได้ ผู้ใด
กำลังไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นก็ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่งได้ ผู้ใดไปถึงฝั่งแล้ว ผู้นั้นก็ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่งได้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์ ผู้ข้าม
ได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ยืนอยู่บนบก นี้เป็นชื่อของพระอรหันต์ พระอรหันต์นั้นถึงฝั่งได้
ด้วยความรู้ยิ่ง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งได้ด้วยการละ ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญ
ภาวนา ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งได้ด้วยการเข้าสมาบัติ ถึงฝั่งได้ด้วยความ
รู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการละกิเลส
ทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญอริยมรรค 4 ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้งนิโรธ ถึงฝั่งได้
ด้วยการเข้าสมาบัติ1 8

เชิงอรรถ :
1 สมาบัติ 8 ประกอบด้วย รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :25 }